เมนู

บ้านไม้เสากลมมีใต้ถุน ความอบอุ่นที่ทำให้ทานข้าวอร่อยขึ้น

บ้านไม้ยกพื้น

บ้านไม้เทคนิคก่อสร้างแบบญี่ปุ่น

หากพูดถึงงานช่างโดยเฉพาะช่างไม้ ต้องนับว่าช่างฝีมือญี่ปุ่นนั้นประณีตและน่าทึ่งจริงๆ เพราะเทคนิคการก่อสร้างบ้านไม้บางหลังไม่ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว แต่จะใช้วิธีการเข้าไม้ที่ทำจากมือล้วนๆ งานแต่ละชิ้นจึงใช้เวลาแต่สวยงามสมการรอคอย เนื้อหานี้เรามีบ้านไม้ที่ออกแบบสร้างสรรค์โดยสถาปนิกรุ่นใหม่ ที่นำภูมิปัญญาช่างดั้งเดิมมาผสานกับวิธีการ วัสดุ และฟังก์ชันใหม่ๆ มาให้ได้ชมเผื่อเป็นแรงบันดาลใจสำหรับคนชอบงานไม้กันครับ

ออกแบบ: Tomoaki Uno Architects
ภาพถ่าย : Nathanael Bennett
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

บ้านไม้สองชั้นผสมกระจกสไตล์ญี่ปุ่น

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บ้านไม้สองชั้นผสมกระจกสไตล์ญี่ปุ่น

โครงการบ้านไม้นี้ สร้างบนที่ดินด้านหน้าหาดเทราเบะ ใกล้กับใจกลางอ่าวมิคาวะ ประเทศญี่ปุ่น จากที่ตั้งของบ้านจะสามารถมองเห็นอ่าวมิคาวะได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง จึงเคยเป็นบ้านพักริมชายหาดที่บริหารโดยพ่อแม่ของเจ้าของ ต่อมาเปลี่ยนวัตถุประสงค์มาใช้เป็นโชว์รูมและบูธชิมอาหารเพื่อสุขภาพ หลังเปิดให้บริการแล้วพื้นที่ดังกล่าวคับแคบเกินไปและไม่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ขององค์กร จึงตัดสินใจปรับปรุงโชว์รูมที่มีอยู่เดิม และสร้างอาคารที่มีเซสชันชิมอาหารขึ้นมาเพิ่ม

บ้านไม้สองชั้นผสมกระจกสไตล์ญี่ปุ่น

บ้านไม้หลังคาจั่วมีใต้ถุนแบบญี่ปุ่น

โจทย์ที่เจ้าของให้มา คือ ต้องการอาคารที่มีความเงียบสงบและน่าดึงดูดใจ และจะได้ใช้ประโยชน์จากทิวทัศน์ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งต้องมีการเสนอที่ชัดเจน เมื่อพิจารณาจากความต้องการและภาพลักษณ์ของบริษัท ทีมงานจึงตัดสินใจว่าจะสร้างอาคารด้วยไม้ และมองหาวิธีการก่อสร้างรูปแบบต่างๆ มานานเกือบครึ่งปี ก็ได้บทสรุปคือการใช้เสาลอย (Pilotis) ซึ่งเสาจะเชื่อมต่ออย่างแน่นหนากับฐานรากที่มั่นคงโดยใช้เสาเหล็กหรือ “Home Connectors” (วิธีการต่อแบบยึดแน่นด้วยสลักเกลียวพิเศษที่ยึดด้วยเรซินอีพอกซี) จากนั้นจึงวางอาคารด้านบนไว้บนเสา ทำให้เป็นอาคารสองชั้นที่มีพื้นล่างโล่งๆ ด้านล่าง

เสาไม้กลมขนาดใหญ่รองรับบ้าน

ระเบียงไม้เล็ก ๆ ยื่นจากตัวบ้าน

ทีมช่างต้องกำหนดขนาดที่สมเหตุสมผลและสวยงามที่สุด เช่น ระยะห่างและความหนาของเสา จากการคำนวณต้องใช้เสาทั้งหมด 32 ต้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแต่ละต้น 33 ซม. ซึ่งไม้แต่ละท่อนที่ได้มาจะมีขนาดไม่เท่ากัน จึงต้องกลึงท่อนไม้ให้ได้ขนาดที่ต้องการ โดยทีมงานเลือกที่จะขึ้นรูปท่อนไม้ที่ไซต์งานด้วยการใช้ ‘yarikana’ เป็นเครื่องมือไสไม้แบบดั้งเดิมค่อยๆ เกลาผิวไม้ออก แต่ต่อมาก็เปลี่ยนมาใช้เครื่องไสไม้ไฟฟ้าเพื่อเร่งกระบวนการ จนได้เสาไม้ครบตามจำนวนที่ระบุไว้

บันไดไม้ช่างฝีมือญี่ปุ่น

บ้านไม้สไตล์ญี่ปุ่น

ที่ชั้นบนมีพื้นที่ครัว ห้องน้ำ และมุมนั่งทานอาหาร แทบทุกองค์ประกอบใช้ไม้แท้ เพื่อให้มีความสอดคล้องกันทั้งหมด โดยมีฟังก์ชันใหม่ๆ อย่างช่องแสงสกายไลท์เข้ามาเพิ่มความสว่างเฉพาะจุดประกอบอาหาร

บ้านไม้สไตล์ญี่ปุ่น

ครัวไม้มีช่องแสงสกายไลท์

ทั้งนี้สำหรับวัสดุปูพื้น ช่างตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ไม้สนไซเปรสของออสเตรเลีย เพื่อความทนต่อสภาพอากาศ อย่างไรก็ตาม ไม้ชนิดนี้หากไม่ได้อบให้แห้งเพียงพอหรือถูกความชื้นนานๆ มักจะโก่งตัวหลังจากการติดตั้ง และพื้นก็ไม่แข็งพอเช่นกัน ทีมช่างจึงแนะนำให้ใช้เหล็กเส้นกลมแนวนอนหลายเส้นรองรับพื้นแต่ละชิ้น วิธีนี้เหมือนการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เนื่องจากไม้จะยึดกันเพื่อป้องกันการโก่งตัวและยังช่วยให้มั่นใจได้ถึงความแข็งแกร่งด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนบอกถึงประสบการณ์และภูมิปัญญาของช่างฝีมือที่ช่วยเพิ่มระดับความสมบูรณ์แบบทางสถาปัตยกรรมได้อย่างแท้จริง

บ้านไม้สไตล์ญี่ปุ่น

บ้านไม้สไตล์ญี่ปุ่น

มุมนั่งทานอาหารผนังโล่งโปร่ง สามารถรับลมทะเลและทิวทัศน์อันงดงามได้เต็มที่ ระหว่างที่ทานข้าวหุงเสร็จร้อนๆ กับข้าวและน้ำซุปอร่อยๆ ในบ้านที่แวดล้อมด้วยไม้ ยิ่งทำให้รู้สึกได้ถึงคุณค่าที่ธรรมชาติมอบให้ได้เป็นอย่างดี

 

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด