
คาเฟ่กลางสวน
โลกแห่งการออกแบบเต็มไปด้วยจินตนาการ และหลายโครงการได้ทดลองทำให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างน่าตื่นตา ที่คาเฟ่ในอินโดนีเซียในเนื้อหานี้ก็เช่นกัน เป็นหนึ่งการออกแบบที่ไม่เหมือนใครและยังไม่มีใครเหมือน อาคารนี้เป็นสาขาที่สี่ของร้านกาแฟ TANATAP ซึ่งผุดขึ้นมาในเมือง Matraman อันเต็มไปด้วยต้นไม้เขียว โดยยังคงคอนเซ็ปสถาปัตยกรรมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพื้นที่สีเขียวของเมือง ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้นต้องเข้าไปชมกันครับ
ออกแบบ : RAD+ar
ภาพถ่าย : Mario Wibowo
เนื้อหา: บ้านไอเดีย
Frame Garden Café ชื่อ Tanatap เป็นหนึ่งต้นแบบของร้านกาแฟกลางพื้นที่สีเขียว สร้างขึ้นโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเป็นหลัก มีแพลตฟอร์มแบบไดนามิกขึ้นและลง เพื่อสร้างภูมิทัศน์หลังคาที่สามารถเดินได้ ทำหน้าที่เป็นส่วนเสริมให้ผู้ที่แวะเวียนเข้ามาได้เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ของเมืองและสวนสาธารณะจากมุมมองที่สูงและกว้างขึ้น “เราเริ่มต้นจากแนวคิดในการสร้างพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวที่ทุกคนสามารถเพลิดเพลินได้เพียงแค่ดื่มกาแฟหนึ่งแก้ว นั่นเป็นเหตุผลที่เราเรียก [TANATAP] ว่าเป็น ‘สวนกาแฟ’ แทนที่จะเป็นร้านกาแฟ” ผู้ร่วมก่อตั้ง Tika Dwi Putri อธิบายถึงที่มาที่ไปของที่นี่
คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่
จากภาพโมเดลจะเห็นว่า งานสถาปัตยกรรมนี้ไม่มีส่วนหน้าอาคาร ซึ่งการออกแบบเริ่มต้นด้วยคำถามว่า จะเป็นอย่างไรหากเรามีร้านที่ใส่ความยืดหยุ่นของพื้นที่ที่แวะมามานั่งดื่มกาแฟ มาดูนิทรรศการศิลปะ และดึ่มดำกับพื้นที่สวนได้ ส่วนหน้าจึงเปิดโลกให้สามารถเปลี่ยนรูปแบบส่วนหน้าของฟังก์ชันการใช้งานอย่างไม่จำกัด ซึ่งเป็นจุดที่สร้างเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมนั้นขึ้นมา ชาวเมืองจึงมีอะไรใหม่ ๆ ที่เพิ่มความสดชื่น มีชีวิตชีวา และมีความยั่งยืนไปพร้อมกัน
การวางกรอบอาคารประกอบด้วย 4 ประเภทวัสดุที่ถูกนำมารวมกันอย่างสนุกสนาน (สแตนเลส, งานศิลปะ, คอนกรีตเสริมใยแก้ว GRC, กระจก) และชั้นไม้อัดที่มีการจัดการอย่างมีศิลปะซึ่งเลียนแบบรากไม้ขนาดมหึมา ช่วยเสริมเอฟเฟ็กต์แบบเปอร์สเปคทีฟ เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมทั้งสองได้เพลิดเพลินกับสวนสาธารณะข้างหน้า และคนที่อยู่ในสวนสาธารณะก็สามารถมองเห็นคนที่นั่งอยู่สวนคาเฟ่ ในขณะที่มีวัตถุทางศิลปะถูกจัดวางเป็นกรอบ เหมือนมองเข้ามาในโรงภาพยนต์ที่มีคนจริง ๆ เคลื่อนไหวอยู่ในนั้น เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ในคาเฟ่แห่งนี้จะไม่ค่อยตายตัว เป็นม้านั่งวงกลมบ้าง ม้านั่งติดผนัง โต๊ะที่ยกไปวางตามสเต็ปบันไดที่กระจายอยู่ได้ อยู่ที่ว่าผู้ใช้จะเป็นผู้กำหนดพื้นที่และเลือกความสะดวกสบายในการใช้เฟอร์นิเจอร์อย่างไร
อาคารนี้ไม่มีอะไรมากไปกว่าสวนที่มีกรอบล้อมรอบ มีพื้นที่ในร่มที่ไล่สเต็ปขึ้นไปพร้อมฉากงานศิลป์ข้าง ๆ ที่สร้างบรรยากาศเหมือนอยู่ในโรงภาพยนตร์ แต่ในเรื่องของการดีไซน์ยังต้องตอบโจทย์ความสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ โดยออกแบบให้ใช้พลังงานต่ำ เฟรมของอาคารทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดเอฟเฟกต์แบบอุโมงค์ลม ช่วยให้ผู้มาเยี่ยมชมเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ของสวนสาธารณะท่ามกลางสายลม บนหลังคามีสกายไลท์สีรุ้งคล้ายโอเอซิสกลางสวน ช่วยให้แสงพระอาทิตย์ตกทะลุผ่านกลางคาเฟ่ในร่มได้ โดยแทบไม่ต้องเปิดไฟฟ้าในช่วงกลางวัน
ส่วนของคาเฟ่จะอย่ด้านล่าง เมื่อเงยหน้าขึ้นไปบนเพดานจะเห็นว่าเป็นแผ่นขนาดใหญ่วางเหลื่อมกันไล่ระดับลักษณะขั้นบันได ซึ่งก็คือที่นั่งชมวิวด้านบนนั่นเอง ผู้คนที่ขึ้นไปนั่งดื่มเครื่องดื่มจึงเหมือนกำลังเดินอยู่บนหลังคาอาคาร เมื่อเดินมาที่ช่องแสงสกายไลท์ก็จะมองเห็นความเคลื่อนไหวข้างล่างด้วย
แปลนอาคาร