
ปรับปรุงบ้านเก่าให้ดูใหม่
ในบ้านที่สร้างมากว่าสิบ ๆ ปี โครงสร้างเดิมของบ้านก็อาจจะไม่สอดคล้องกับบริบทความเปลี่ยนแปลงของชุมชนหรือสภาพอากาศ ที่มีความเคลื่อนไหวตอลดเวลา การรีโนเวทบ้านก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่หลาย ๆ คนใช้ปรับปรุงภายในภายนอกให้ดูดีและตอบโจทย์มากขึ้น ซึ่งอาคารบางหลังเพียงแค่เปลี่ยนเปลือกบ้าน เจาะตรงนั้นนิด รื้อตรงนี้หน่อย เพิ่มสิ่งที่จำเป็นใหม่ ๆ เข้าไป ก็เป็นบ้านที่พร้อมจะอยู่อย่างสบายไปได้อีกหลายปีครับ
ออกแบบ : Suvaco
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
บ้านเก่าเปลี่ยนเปลือกบ้านอารมณ์ก็เปลี่ยน
บ้านใจกลางเมืองที่เดิมเคยเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ ปรับปรุงใหม่ให้โมเดิร์นขึ้นด้วยการเปลี่ยนหน้ากากบ้านใหม่เป็นระแนงไม้สีดำโปร่ง ๆ ส่วนชั้นบนก็เป็นระแนงแต่มีประตูกระจกซ้อนอยู่ข้างใน วิธีนี้จะทำให้บ้านสามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวภายนอกและยังมีปฏิสัมพันธ์กับถนนได้ ในขณะที่ยังมีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัย มุมมองฝั่งทิศตะวันตกจะเห็นข้าง ๆ เป็นบ้านของเพื่อนบ้าน 2 หลัง ที่ดูกลมกลืนไม่ถึงกับแปลกแยกเพราะวัสดุและโทนสี
เปลือกบ้านใหม่ที่ไม่ได้ปิดทึบนำทั้งแสงและลมให้เดินทางเข้าไปมอบความสบายให้บ้านได้ง่ายขึ้น ถัดจากฟาซาดซึ่งเป็นซี่ลูกกรงไม้สีดำจะเห็นพื้นที่สวนเล็ก ๆ ทางด้านขวามือ ที่นอกจากจะทำหน้าที่เพิ่มความเป็นธรรมชาติเข้าสู่บ้านแล้ว ยังเป็นเหมือนกันชนปกป้องบ้านด้วย ด้านซ้ายมือเป็นทางเดินเล็ก ๆ นำเข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งจะเห็นความลึกที่พื้นที่ใช้สอยส่วนตัวอยู่ค่อนข้างไกลจากถนน
คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่
ฟังก์ชันใหม่แต่คงกลิ่นอายญี่ปุ่นโบราณ
เมื่อเปิดประตูเข้าสู่ตัวบ้าน เห็นว่าทางเข้าจะตรงยาวไปจนถึงหลังบ้าน ทำให้พื้นที่ใช้สอยถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่งเหมือนเป็นซอยเล็ก ๆ อยู่ในบ้าน เริ่มจากพื้นที่ทำงานที่เห็นสวนและถนนอยู่หน้าสุด ถัดไปเป็นห้องนั่งเล่นยกพื้นสไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า Washitsu เป็นโซนสำหรับพักผ่อนที่จะยกพื้นขึ้นจากพื้นเดิมเล็กน้อย ใส่เสาเพื่อสร้างจังหวะขอบเขตของพื้นที่การใช้งานที่แตกต่าง บนพื้นปูด้วยเสื่อทาทามิที่เป็นเอกลักษณ์ ฝั่งตรงข้ามกับพื้นที่นั่งเล่นเป็นชั้นหนังสือที่บิวท์เรียงยาวตั้งแต่ด้านหน้ายาวไปถึงด้านหลัง ทำให้ไม่ต้องหาซื้อตู้ ชั้น มาวางเพิ่มเติมให้พื้นที่แคบลงไปอีก
ส่วนใช้งานสุดท้ายเป็นครัวยาวที่ต่อเนื่องมาจากห้องนั่งเล่นโทนสีดำ สถาปนิกใช้ประตูกระจกบานเลื่อนใส่เพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมต่อกับสวนด้านนอก และรับแสงเข้ามาภายในทำให้โทนสีดำไม่ดูทึบจนเกินไป ประกอบกับเพดานที่เจาะสูงขึ้นไปแบบ Double space ที่ติดช่องแสงสกายไลท์เอาไว้ ทำให้บ้านได้รับแสงจากด้านบนโดยตรงทำให้บ้านยิ่งดูโปร่งขึ้น ช่องว่างที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 ชั้นนี้สามารถจะมองเห็นห้องโถงห้องนั่งเล่นจากชั้นบนด้วย
บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : บ้านเก่า โดยเฉพาะทาวน์เฮาส์ที่มักจะมีข้อเสียคือ การสร้างติด ๆ กัน ทำให้มีช่องแสงน้อย บ้านจึงอึดอัดอากาศไม่ถ่ายเท ได้รับแสงไม่เพียงพอ ทำให้บ้านชื้นง่าย อึดอัด อยู่อาศัยไม่สบาย สิ่งที่จำเป็นต้องทำคือ การหาช่องทางใหม่ ๆ ให้แสงและอากาศใหม่ ๆ เข้าไป เช่น การเจาะพื้นเพดานที่กั้นระหว่างชั้นออกบ้างในบางจุด เพื่อให้อากาศไหลเวียนได้ดี แสงก็เดินทางได้ดีขึ้น และยังช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นด้วย อีกวิธีหนึ่งคือการใส่ช่องแสง skylight รับแสงจากมุมบน สำหรับการตกแต่งภายในลองเปลี่ยนมาใช้วัสดุกระจกใสมากขึ้น เพื่อช่วยเบลอขอบเขตของแต่ละพื้นที่ บ้านจึงอยู่สบายขึ้นแม้พื้นที่จะเท่าเดิมครับ |
ในยามค่ำ เมื่อเปิดแสงไฟส่องสว่างจากภายในจะทำให้บรรยากาศของเปลี่ยนไปในอีกรูปแบบหนึ่ง เมื่อมองลอดระหว่างซี่ไม้จะมองเห็นมุมสวนเขียว ๆ หน้าบ้านชัดเจนขึ้น สร้างความรู้สึกสดชื่นชุ่มชื้นของธรรมชาติในเขตเมือง http://www.tb-credit.ru/microkredit.html