เมนู

พื้นที่สวนไม่เยอะ จัดแต่งให้เป็นหนึ่งเดียวกันตัวบ้าน

แบบบ้านสองชั้นหลังเล็ก

บ้านอารมณ์ญี่ปุ่น

เมื่อข้อจำกัด กลายเป็นจุดเด่นของบ้าน คงต้องยกความดีความชอบให้กับสถาปนิกนักอออกแบบ รวมถึงเจ้าของบ้านที่กล้าจะเปิดมุมมองใหม่ เติมไอเดียใส่เข้าไป จนที่ดินแคบ ๆ ที่มีอยู่นั้น สร้างบ้านสองชั้นหนึ่งหลังที่ไม่เพียงแค่สวยสบายตา แต่ยังอยู่แล้วสบายกาย เพลิดเพลินใจอีกด้วย ความคิดสร้างสรรค์หรือไอเดียที่ทำให้บ้านหลังนี้น่าอยู่คืออะไรนั้น ค่อย ๆ ติดตามไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลยครับ

ออกแบบHearth-A
เนื้อหา : บ้านไอเดีย

หลังคามุงเมทัลชีท

คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขยายใหญ่

บนที่ดินหน้ากว้างประมาณ 8 เมตร แต่มีความลึกถึง 30 เมตร เดิมทีสร้างความกังวลใจให้กับเจ้าของบ้านอยู่ไม่น้อย เพราะเกรงว่าความแคบของที่ดินจะบดบังแสง บดบังลม ทำให้ภายในบ้านมีแต่ความอับทึบ ซึ่งคงไม่ดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจของผู้อยู่อาศัยมากนัก

อุปสรรคดังกล่าวได้หมดไปเมื่อสถาปนิกได้ทำการออกแบบด้วยแนวคิดที่ชาญฉลาด ประกอบกับการเว้นจังหวะภายในบ้านให้มีความราบลื่นต่อทั้งแสง ทั้งอากาศได้อย่างยอดเยี่ยม เริ่มจากบริเวณด้านหน้า ลานกว้าง ๆ ถูกเว้นไว้ให้เป็นที่จอดรถกลางแจ้ง แต่จุดประสงค์ไม่ได้มีเพียงเท่านั้น เพราะการร่นตัวบ้านเขยิบเข้าไปด้านในอีกนิด จะทำให้ลานด้านหน้ากลายเป็นที่รับพลังหรือรับกระแสธรรมชาติได้ดีกว่าการสร้างบ้านติดชิดกับถนน

ระแนงไม้พรางตา

และถึงแม้ผนังด้านหน้าส่วนใหญ่ค่อนข้างปิดทึบ เพื่อให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว ตรงส่วนของประตูได้ทำการเลือกใช้ระแนงไม้ ช่องว่างระหว่างซี่ เป็นช่องทางที่ดีในการรับแสงและรับลมให้พัดผ่านเข้าไปเยี่ยนเยี่ยมภายในบ้าน โดยทำการเลือกใช้ไม้สีน้ำตาลอ่อนที่ล้อกันกับไม้ที่นำมากรุตกแต่งผนัง คุมธีมให้อารมณ์ของบ้านสองชั้นแลดูอบอุ่นมากยิ่งขึ้น

ทันที่ที่ผ่านประตูระแนงไม้เข้าไป จะไม่ได้เจอพื้นที่ภายในทันที สถาปนิกได้เว้นจังหวะจัดสวนหย่อมเอาไว้ เจาะช่องแสงบนหลังคาในบางส่วน ให้แสงอาทิตย์ส่องลงมาด้านล่าง ประกอบกับมีประตูระแนงไม้บานเลื่อนกั้นอีกชั้นระหว่างทางเดิน สวนจึงยิ่งมีความเป็นสัดส่วน อีกทั้งยังง่ายต่อการดูแล

ประตูซ่อนผนัง

วัสดุไม้ยังคงเป็นองค์ประกอบหลักที่ใช้ในการตกแต่งภายในบ้าน ตั้งแต่พื้น ฝ้าเพดาน ประตู หน้าต่าง รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ ทำให้ผนังฉาบเรียบสีขาวไม่แลดูจืดชืดจนเกินไป ทั้งยังสัมผัสได้ถึงความเรียบง่าย นุ่มนวลและอ่อนโยนตลอดเวลา

โต๊ะทานอาหารอารมณ์บ้านญี่ปุ่น

พื้นที่สวนข้างบ้าน ใช้หลักการเดียวกันกับสวนที่เจอในครั้งแรก ผนังชั้นนอกก่อทึบ เจาะช่องแสงเล็กน้อย จากนั้นแบ่งพื้นที่เล็ก ๆ ไว้สำหรับจัดสวน เชื่อมต่อกับพื้นที่ใช้สอยภายในห้องทานอาหาร เมื่อกำลังรับประทานอาหารจึงเหมือนได้นั่งชมสวนอย่างเป็นส่วนตัว

บ้านหน้าแคบมีสวน

ออกแบบให้มี Double Volume ขนาดย่อมอยู่ตรงพื้นที่ทานอาหาร โถงเพดานที่สูงโปร่งช่วยทดแทนความแคบในแนวราบได้อย่างยอดเยี่ยม ขณะที่สมาชิกในครอบครัวได้มารวมตัวพร้อม ๆ กัน ณ บริเวณนี้ จึงยังรู้สึกความโล่งสบาย

โคมไฟแขวนเพดาน

ประตูเข้ามุม

ความปลอดโปร่งอย่างเต็มพิกัดรออยู่ตรงโซนหลังบ้าน ห้องนั่งเล่นหรือห้องอเนกประสงค์ที่เน้นการตกแต่งอย่างเรียบง่าย แทบจะไม่มีเฟอร์นิเจอร์ใด ๆ มาตกแต่งมากมาย จุดประสงค์เพื่อให้ใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นตามความเหมาะสมขณะช่วงเวลานั้น ๆ

ระเบียงมีหลังคา

กำแพงที่หนาทึบตรงบริเวณนี้เชื่อมต่อจากกำแพงชั้นนอกตรงห้องทานอาหารนั้นเอง เพียงแค่ก่อทึบไม่ทำการเจาะช่องแสง เนื่องจากมีช่องแสงขนาดใหญ่จากด้านหลังบ้านอยู่แล้ว สถาปนิกทำการออกแบบประตูเป็นแบบบานเลื่อนเข้ามุม ซ่อนเก็บไว้ในผนัง ทุกครั้งที่เปิดออก จึงเหมือนเป็นพื้นที่กึ่งภายนอกกึ่งภายในที่สัมผัสกับความสดชื่นจากธรรมชาติได้อย่างเต็มที่

ห้องนั่งเล่นหลังบ้าน

ประตูบานเลื่อนแบบเข้ามุม ขยายมุมมองจากภายในออกสู่สวนภายนอก

ประตูบานเลื่อนซ่อนผนัง

บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย :   ถึงแม้ว่าพื้นที่ภายนอกกับภายในจะเหมือนเป็นพื้นที่เดียวกัน แต่ก็ยังจำเป็นต้องเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งานภายใน-ภายนอกเช่นเดิม อาทิ วัสดุปูพื้นตรงระเบียง ต้องเลือกใช้วัสดุที่มีความทนทานต่อความชื้น แสงแดด รวมถึงมีค่าต้านความลื่น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่นล้ม ซึ่งอาจเลือกสีสันให้สอดรับกับวัสดุภายใน หากต้องการให้ทั้งสองพื้นที่แลดูเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น 

ออกแบบระเบียงไม้แบบญี่ปุ่น

คุณคิดเห็นอย่างไรกับบทความนี้ ?

Advertorial

ดูทั้งหมด

โพสต์ล่าสุดในหมวด แบบบ้าน


โพสต์ล่าสุด